เอกสาร เอกสารถ้ำผีแมนโลงลงรัก_พลังความรู้
บทคัดย่อ โดย วอกัญญา ณ หนองคาย
สืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีเชิงลึกที่แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนโลงลงรัก ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2556-2559 โดยโครงการการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
ก่อนประวัติศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำให้ทราบถึงคุณค่าของ
แหล่งโบราณคดีในฐานะที่เป็นกุญแจสำคัญในการศึกษาวัฒนธรรมโลงไม้และความเป็นมาของ “คนไท” ในประเทศไทย เนื่องจากพบหลักฐานทางโบราณคดีหลากหลายประเภทมากที่สุดเท่าที่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมโลงไม้ ดังนั้นในโครงการมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ปี พ.ศ. 2560-2563) จึงมีการวิจัยเชิงลึกเพิ่มเติมทางด้านโบราณคดี ด้านสัตววิทยาโบราณคดี
ด้านมานุษยวิทยากายภาพ และด้านพันธุศาสตร์เชิงมานุษยวิทยา ควบคู่กับการวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการจัดการแหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน
โลงลงรัก ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่น สำหรับการพัฒนาด้านการศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ อันช่วย
สร้างพื้นฐานความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมให้กับท้องถิ่นและประเทศ ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ
มีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เป็นหัวใจหลักในการดำเนินงานวิจัย โดยสร้างกระบวนการ
มีส่วนร่วมกับภาคีต่างๆ ทั้งในท้องถิ่นและภายนอก คือ ชุมชนบ้านถ้ำลอด โรงเรียนบ้านถ้ำลอด โรงเรียนอนุบาล
ปางมะผ้า ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด เอกชนในท้องถิ่น นักวิชาการ และสื่อสาธารณะ สามารถประมวลความคิดเห็นของภาคีต่างๆ เป็นแนวทางการจัดการแหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนโลงลงรัก คือ การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ควบคู่กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สำหรับท้องถิ่นและสาธารณะ โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในปัจจุบัน ได้แก่
1. การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และหนังสือแบบเรียน 2. การพัฒนาแหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนโลงลงรักเป็นแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ของโรงเรียน 3. การนำองค์ความรู้ไปจัดนิทรรศการในบ้านไทใหญ่ (ศูนย์เรียนรู้ภายในโรงเรียน) 4. หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง “เสียงเพรียกจากถ้ำผีแมน” 5. การรวบรวมข้อมูลและสิ่งของทางวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ในหมู่บ้านถ้ำลอดเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชน 6. การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สัตว์ป่า และโบราณคดี 7. มีการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบสื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์จำนวนมาก
โดยสื่อสาธารณะทั้งในท้องถิ่นและประเทศ นับว่าเป็นตัวอย่างของพลังความรู้ที่บูรณาการผลงานวิจัยมาใช้ในการจัดการอดีตร่วมกัน
You might also like
More from บทความ
ศาสตร์ประยุกต์ โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | EP.11
โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | EP.11 - - - ศาสตร์ประยุกต์ (2) - - - - การสร้างภาพจำลองสามมิติแหล่งโบราณคดีบนพื้นที่สูงในเขตอำเภอปางมะผ้าด้วยเทคนิค โฟโตแกรมเมตรี - นักสืบของอดีต: สมมุติฐาน/ โบราณคดี/ วิถีแห่งบอร์ดเกม - หนึ่งสัปดาห์ที่ปางมะผ้า จากประสบการณ์สู่แรงบันดาลใจ - …
เพิงผาบ้านไร่ในดิจิทัลวิถี มิติใหม่ของการนำเสนอพิพิธภัณฑ์ในแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | EP.10
โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | EP.10 - - - ความก้าวหน้าของนักศึกษา (2) - - - - QR Code เปิดประตูสู่อดีต: เพิงผาบ้านไร่ในดิจิทัลวิถี - มิติใหม่ของการนำเสนอพิพิธภัณฑ์ในแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด - ผู้ทรงคุณวุฒิแสดงความคิดเห็น - - …
บทเพลงจากพื้นที่สูงปางมะผ้า: การส่งต่อเรื่องราวผ่านการแสดงดนตรีจากแนวคิดมานุษยวิทยาดนตรี โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | EP.8
<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/N67emsxyLAk" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture" allowfullscreen></iframe> โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน | EP.8 - - - บทเพลงจากพื้นที่สูงปางมะผ้า: …