เรามักจะนึกว่าโลงไม้พบ เฉพาะที่อำเภอปางมะผ้า? จังหวัดแม่ฮ่องสอน? การสำรวจในอดีตทำให้ทราบว่ามีการพบตามแนวเทือกเขาตะวันตก? จากแม่ฮ่องสอน? เชียงใหม่? มาถึงจังหวัดกาญจนบุรี? งานเขียนชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยโครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงใน อำเภอปางมะผ้า? จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วัฒนธรรมโลงไม้: พิธีกรรมความตายในเทือกเขาตะวันตก
ความตายเป็นเรื่องสำคัญต่อคนในทุกสังคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน? การปลงศพและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายมีความซับซ้อนตามความเชื่อและ ระดับของสังคม? การปลงศพโดยใส่ร่างของคนตายในโลงเป็นพัฒนาการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน?? โลงไม้คือโลงบรรจุศพที่ทำจากไม้นานาชนิดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละ ชุมชน?? ซึ่งพบทั่วไปในสังคมมนุษย์ทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก
ลักษณะของการทำโลงศพของแต่ละวัฒนธรรมก็จะแตกต่างกันไป? บางวัฒนธรรมก็จะทำโลงโดยการขุดเนื้อไม้จากลำต้นออกและตกแต่งผิวด้านในและ ด้านนอก
บางวัฒนธรรมก็แปรรูปไม้ทำเป็นแผ่นแล้วประกอบกันเป็นโลง?? การนำร่างของผู้ตายมาใส่ไว้ในโลงแทนที่จะฝังร่างในดินเลย? หรือห่อหุ้มด้วยฟากไม้/เครื่องจักสาน? มักจะพบในสังคมที่มีการทำกสิกรรมแล้ว??จากแหล่งโบราณคดีประตูผา? จังหวัดลำปาง
หลักฐานทางโบราณคดีของการปลงศพที่มีการใส่ศพในโลงไม้ที่มีอายุเก่าแก่ของ ภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น?? จัดอยู่ประมาณช่วงยุคสมัยโลหะ
สำหรับในประเทศไทย? มีหลักฐานพัฒนาการของการปลงศพและพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายที่เก่าแก่ที่สุด คือการฝังศพตามถ้ำหรือเพิงผาต่างๆ? ในสมัยปลายสมัยไพลสโตซีน-ต้นสมัยโฮโลซีน หรือสมัยหินเก่า-หินกลาง? (ประมาณ 25,000-7,500 ปีมาแล้ว) ซึ่งมักจะพบเป็นการนำร่างฝังในหลุมแล้วกลบดินทับอีกครั้ง โครงกระดูกที่พบส่วนใหญ่อยู่ในท่านอนงอตัว? เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง? เหมือนกับท่านั่ง
ต่อมาในสมัยโฮโลซีนตอนกลาง-ปลาย หรือสมัยหินใหม่และโลหะ (ประมาณ 5,600-1,500? ปีมาแล้ว) รูปแบบการฝังศพยังคงเป็นการฝังลงในหลุม? แต่ท่าวางศพเปลี่ยนเป็นการฝังศพที่นอนหงายเหยียดยาว? พร้อมกับมีของเซ่นไหว้ภายในหลุมศพ
บางกรณีก็มีการห่อหุ้มศพด้วยฟากไม้แล้วขุดหลุมฝัง เช่น ที่แหล่งโบราณคดีประตูผา จังหวัดลำปาง
หรือการฝังลงในหม้อขนาดใหญ่? ที่พบจากแหล่งโบราณคดีโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา อย่างไรดีตาม? ในสมัยที่มีการใช้โลหะจะเริ่มปรากฏการปลงศพที่หลากหลายรูปแบบที่นอกเหนือไป จากการฝังดินในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย? ไม่ว่าจะเป็นการฝังศพครั้งที่ 2 ในไหที่พบอย่างกว้างขวางในแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือการฝังศพครั้งที่ 2 ที่ฝังลงในดิน ที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร
หรือ การฝังศพในโลงไม้ที่พบในแนวเทือกเขาตะวันตกของประเทศไทย
ในที่นี้? ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะแหล่งโบราณคดีที่พบโลงไม้?? โดยเฉพาะแนวเทือกเขาตะวันตกของประเทศไทยพบโลงไม้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่แม่ฮ่องสอน
- ถ้ำเชียงดาว? จังหวัดเชียงใหม่
- ถ้ำเรือ? อำเภอไทรโยค และถ้ำขุนแผน? อำเภอเมืองซึ่งสำรวจโดยผู้วิจัยเมื่อพ.ศ. 2533
- ถ้ำอาบยา? อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สำรวจโดยภาควิชาโบราณคดี? คณะโบราณคดี? มหาวิทยาลัยศิลปากร
- นอกจากนี้ยังมีการบอกเล่าถึงการพบที่จังหวัดสุโขทัยโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้? ซึ่งแจ้งกับเขียนเองในปี พ.ศ. 2544
- และมีการพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งไม่ได้นำมากล่าวถึงรายละเอียด? เพราะรูปแบบของโลงมีความแตกต่างไปจากกลุ่มที่พบในแนวเทือกเขาตะวันตก
สำหรับแบบแผนของวัฒนธรรมโลงไม้ที่พบในจังหวัดกาญจนบุรีนั้นไม่ทราบแน่ชัด ว่าเป็นอย่างไร? แต่มักจะพบภายในถ้ำ? โลงจะวางในตำแหน่งที่เป็นคูหาชั้นใน? ส่วนที่มืด? เช่นถ้ำเรือ? ถ้ำองบะ? เป็นต้น? แต่ก็มีกรณียกเว้นคือถ้ำอาบยา? ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างจะสว่างและโล่ง?? และโลงไม้ส่วนใหญ่ทำจากไม้แดงและไม้ประดู่? ส่วนของหัวโลงมีการแกะสลักเป็นรูปต่างๆ? คล้ายกับรูปสัตว์บ้าง โลงส่วนใหญ่วางอยู่บนพื้นหรือพาดบนก้อนหิน? ไม่ได้วางอยู่บนเสาไม้หรือคาน?? ถ้ำส่วนใหญ่มักจะมีการรบกวนและเคลื่อนย้ายโลงไม้??? ถ้ำที่เป็นสุสานไม่มีความซับซ้อนหรือเข้ายากเหมือนกับที่แม่ฮ่องสอน
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีการศึกษาและขุดค้นคือ ถ้ำองบะ?อำเภอศรีสวัสดิ์??? ซอเรนเซน? นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก? รายงานว่าโลงไม้ที่พบภายในถ้ำมีการรื้อค้นและเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิมโดย นักลักลอบขุดของเก่า? โลงไม้ทั้งหมดที่พบมีจำนวนถึง 90 โลง ขนาดความยาวระหว่าง 3-3.5 เมตร? บางโลงยังคงเหลือร่องรอยของชิ้นส่วนของโครงกระดูกมีสร้อยที่ทำจากลูกปัดแก้ว เครื่องประดับสำริด? เงิน?? ภาชนะที่ทำจากสำริด? เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็ก และภาชนะดินเผาขนาดเล็ก? อายุของโลงไม้ที่ได้จากการกำหนดอายุโดยวิธีคาร์บอน 14 คือ 2180?100 ปีมาแล้ว หรือประมาณ 230 ปีก่อน ค.ศ.??? ถ้ำองบะเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงถึงพัฒนาการของคนตั้งแต่สมัยโฮโล ซีนตอนต้น-ปลาย?(ยุคหินกลาง-โลหะ)
ซอเรนเซนจัดแบ่งยุคสมัยของการใช้พื้นที่ในถ้ำองบะออกเป็นสามช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงสมัยวัฒนธรรมโฮบินเนียน? อายุระหว่าง 9230?180 ปีก่อนค.ศ. และ 7400?180 ปีก่อนค.ศ.? ช่วงวัฒนธรรมหลังวัฒนธรรมบ้านเก่า อายุประมาณ 1,100 ปีก่อนค.ศ.? และช่วงสมัยวัฒนธรรมโลหะ? ดังอายุที่กล่าวแล้วในข้างต้น? โดยเฉพาะการตีความเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมในสมัยโลหะนั้น? ซอเรนเซน เสนอว่ามีความแตกต่างทางสังคมอย่างชัดเจน? อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ คนที่มีสถานภาพสูงจะเป็นพวกที่ปลงศพในโลงไม้? และมีเครื่องเซ่นศพต่างๆ? รวมทั้งกลองมโหระทึกสำริด? และกลุ่มคนที่เป็นช่าง? ได้แก่ช่างไม้หรือช่างตีเหล็ก? จะถูกฝังภายในถ้ำเช่นกัน? นอกจากนี้ ซอเรนเซน? สันนิษฐานว่าวัฒนธรรมโลงไม้นี้น่าจะแพร่กระจายมาจากเสฉวน ในประเทศจีน ซึ่งอายุประมาณ 600 ปีก่อน ค.ศ.??? ผ่านมาทางภาคตะวันตกของประเทศไทยและส่งผ่านไปยังถ้ำนีอาร์? เกาะบอร์เนียว? ประเทศมาเลเซีย มีอายุประมาณ? 505 ปีก่อน ค.ศ.?? และต่อไปยังประเทศฟิลิปปินส์? ซึ่งมีอายุประมาณ ปลายคริสศตวรรษที่ 13-ต้นคริสศตวรรษที่ 14? อย่างไรก็ดี? มีเพียงงานค้นคว้าสารนิพนธ์ปริญญาตรี? ภาควิชาโบราณคดีของสุรศักดิ์? อนันตเวทยานนท์ ปี 2530 เพียงชิ้นเดียวที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของโลงไม้ระหว่างแหล่ง โบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรีกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน?? ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของคนเจ้าของ โลงไม้ในจังหวัดกาญจนบุรี
You might also like
More from Gotoknow
ขุดค้นอดีต เข้าใจปัจจุบัน: พิธีกรรมความตายดึกดำบรรพ์และที่มาของคนไท(ย) | ประชาไท
พูดคุยกับรัศมี ชูทรงเดช นักโบราณคดีในทีมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบหลักฐานร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้น พร้อมไขปริศนา "คนไท(ย)มาจากไหน?" ในห้องทำงานที่มีกล่องกระดาษเรียงรายภายในศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมกับภาพแผนผังการฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์บนผนัง และภาพเหมือนของผู้หญิงจากเมื่อหนึ่งหมื่นสามพันปีที่แล้วแอบมองเราอยู่บนหลังตู้ซึ่งเรารอคอยที่จะได้ทำความรู้จัก เราพบกับรัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีบนพื้นที่สูงและหนึ่งในนักวิจัยที่นำทีมขุดค้นในโครงการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบแหล่งโบราณคดีกว่าร้อยแห่งจากหลายยุคสมัย พร้อมกับหลักฐานซึ่งบ่งบอกร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้นในดินแดนที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอำเภอปางมะผ้า งานของนักโบราณคดีเหมือนนักสืบที่ขุดค้นอดีตและนำความรู้กลับมาใช้เพื่อทำให้เราเข้าใจต้นธารของวัฒนธรรมและปัจจุบันที่เราอยู่มากขึ้น วันนี้ประชาไทจึงมาชวนรัศมีคุยเรื่องพิธีกรรมหลังความตายของมนุษย์ยุคโบราณ การทำงานของนักโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปจนถึงตามหาคำตอบของคำถามที่ว่า …
The Challenge of Archaeological Interpretation and Practice that Integrates between the Science of the Past and Local Knowledge
Contemporary archaeologists can no longer focus only on scientific research, they must also work with different interest groups whose use …
รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตอนที่ 1/3
การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและพัฒนาการโดยสังเขป วีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมเพื่อการศึกษาเรื่อง "โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสต์ในประเทศไทย" โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://youtu.be/9_MsvnxH6So #archaeology #facultyofarchaeology #silpakorn #silpakornuniversity #prehistory #prehistoryinthailand #thailand #thailandachaeology #โบราณคดี #ภาควิชาโบราณคดี #คณะโบราณคดี #ศิลปากร #มหาวิทยาลัยศิลปากร #ก่อนประวัติศาสตร์ #กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ …