โลงไม้-โลงผีแมน
เราได้รู้จักวัฒนธรรมโลงไม้ หรือโลงผีแมนไปบ้างแล้ว? วันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับโลงไม้ที่พบจากการสำรวจที่อำเภอปางมะผ้า? จังหวัดแม่ฮ่องสอน? ในการสำรวจก็ได้บันทึกข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของโลงไม้ ขนาด? รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้ง? เพื่อมาวิเคราะห์ตีความเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมเมื่อสองพันปีมาแล้ว
องค์ประกอบของโลงไม้
องค์ประกอบของโลงไม้นั้นสามารถแยกอย่างคร่าวๆ ได้เป็นสองส่วนหลัก ได้แก่
ส่วนของตัวโลงและหัวโลง ส่วนของตัวโลงนั้นเรียบง่ายไม่มีลักษณะพิเศษอะไรมากนักรูปทรงเหมือนท่อนซุง ผ่าครึ่ง รัศมีของลำต้นโดยเฉลี่ยจะเท่ากันตลอดลำ ตัดหัวท้ายในแนวดิ่งเป็นลักษณะของมุมฉากต่อแนวนอน (ตามความยาวของ ท่อนไม้) แกนในของลำต้นถูกขุดออกด้วยเครื่องมือเพื่อให้เกิดพื้นที่ภายในซึ่งมีส่วน โค้งขนานไปกับส่วนโค้งของลำต้นภายนอก ส่วนหัวท้ายของท่องซุงเว้นพื้นที่ไว้หนาพอสมควรคงเพื่อให้เกิดการยึดถ่วง น้ำหนักกับส่วนหัวโลง
โดยปกติมักพบโลงไม้อยู่ด้วยกันเป็นคู่ (2 ชิ้น) บางแห่งพบประกบกันอยู่ ดังนั้นจึงสามารถแยกย่อยส่วนของตัวโลงออกได้เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นเสมือน ฝาโลง คือ ใช้ประกบคว่ำปิดอยู่ด้านบน และส่วนที่เป็นเสมือนตัวโลงซึ่งรองรับอยู่ด้านล่าง ในการนับจำนวนของโลงไม้จึงใช้การนับตัวโลงไม้ 2 ชิ้นถือเป็นโลงไม้ 1 โลง (ชิ้นฝาโลงและชิ้นตัวโลง) ทั้งนี้ต้องใช้การพิจารณาสัดส่วนของโลงไม้ประกอบด้วย คือ ต้องมีสัดส่วนความกว้างยาวที่เท่ากันและสัมพันธ์กัน
ขนาดของโลงไม้
ขนาดของโลงไม้ที่พบนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ขนาดของโถงถ้ำและสภาพ
ทางธรณีวิทยาของถ้ำเองก็มีความสัมพันธ์กับขนาดของโลงไม้เช่นกัน ในการศึกษาจึงจำเป็นต้องกำหนดขนาดของโลงไม้เพื่อใช้หาความสัมพันธ์ระหว่าง ขนาดของโลงไม้เองในพื้นที่ต่างๆ กัน ขนาดของโลงกับสภาพของแหล่ง เทคนิควิธีการที่ใช้รองรับโลงไม้ขนาดต่างๆ ตลอดจนปริมาณของหลักฐานอื่นๆ ที่พบร่วมกับโลงไม้ต่างขนาดกัน? จากการศึกษาพบว่าขนาดของโลงไม้มีความยาวโดยประมาณตั้งแต่ 1.2 ? 9.0 เมตร จึงได้กำหนดขนาดของไว้ดังนี้
โลงขนาดเล็ก?????? คือ? โลงไม้ที่มีความยาวน้อยกว่า 2 เมตร
โลงขนาดกลาง?????? คือ? โลงไม้ที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตรจนถึง 5 เมตร
โลงขนาดใหญ่???? คือ? โลงไม้ที่มีความยาวมากกว่า 5 เมตรขึ้นไปอัตราส่วนความสัมพันธ์กันระหว่างความกว้างและความยาวของตัวโลงไม้ นั้น ไม่มีความแน่นอน โลงไม้อาจมีขนาดไม่กว้างนักแต่มีขนาดที่ยาวมาก (โลงมีลักษณะผอม) หรืออาจมีขนาดที่ไม่ยาวมากแต่มีความกว้างมาก (โลงมีลักษณะอ้วน)
แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมนหรือโลงไม้ที่มีการสำรวจนั้น พบโลงไม้ในขนาดที่แตกต่างกัน
จำนวนก็ต่างกัน บางแหล่งพบโลงไม้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ บางแหล่งพบเฉพาะบางขนาด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโลงไม้ขนาดกลาง ซึ่งขนาดของโลงไม้น่าจะมีความหมายหรือมีนัย-สำคัญบางอย่าง เช่น อาจทำโลงไม้ขนาดใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์หลายๆ ครั้ง เป็นที่ฝังศพของครอบครัวหนึ่งๆ เมื่อมีผู้ตายจึงนำกระดูกมาเก็บไว้รวมกัน จากการสำรวจพบว่ามีบางแหล่%E
You might also like
More from Gotoknow
ขุดค้นอดีต เข้าใจปัจจุบัน: พิธีกรรมความตายดึกดำบรรพ์และที่มาของคนไท(ย) | ประชาไท
พูดคุยกับรัศมี ชูทรงเดช นักโบราณคดีในทีมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบหลักฐานร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้น พร้อมไขปริศนา "คนไท(ย)มาจากไหน?" ในห้องทำงานที่มีกล่องกระดาษเรียงรายภายในศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมกับภาพแผนผังการฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์บนผนัง และภาพเหมือนของผู้หญิงจากเมื่อหนึ่งหมื่นสามพันปีที่แล้วแอบมองเราอยู่บนหลังตู้ซึ่งเรารอคอยที่จะได้ทำความรู้จัก เราพบกับรัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีบนพื้นที่สูงและหนึ่งในนักวิจัยที่นำทีมขุดค้นในโครงการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบแหล่งโบราณคดีกว่าร้อยแห่งจากหลายยุคสมัย พร้อมกับหลักฐานซึ่งบ่งบอกร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้นในดินแดนที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอำเภอปางมะผ้า งานของนักโบราณคดีเหมือนนักสืบที่ขุดค้นอดีตและนำความรู้กลับมาใช้เพื่อทำให้เราเข้าใจต้นธารของวัฒนธรรมและปัจจุบันที่เราอยู่มากขึ้น วันนี้ประชาไทจึงมาชวนรัศมีคุยเรื่องพิธีกรรมหลังความตายของมนุษย์ยุคโบราณ การทำงานของนักโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปจนถึงตามหาคำตอบของคำถามที่ว่า …
The Challenge of Archaeological Interpretation and Practice that Integrates between the Science of the Past and Local Knowledge
Contemporary archaeologists can no longer focus only on scientific research, they must also work with different interest groups whose use …
รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตอนที่ 1/3
การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและพัฒนาการโดยสังเขป วีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมเพื่อการศึกษาเรื่อง "โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสต์ในประเทศไทย" โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://youtu.be/9_MsvnxH6So #archaeology #facultyofarchaeology #silpakorn #silpakornuniversity #prehistory #prehistoryinthailand #thailand #thailandachaeology #โบราณคดี #ภาควิชาโบราณคดี #คณะโบราณคดี #ศิลปากร #มหาวิทยาลัยศิลปากร #ก่อนประวัติศาสตร์ #กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ …
1 Comment
อ.อิ๋วคะ พี่ปุ๊ยที่มิชิแกนกลับมาเพราะคุณแม่เสีย อยากจะติดต่อกับอาจารย์ แต่ไม่มีเบอร์ เลยช่วยเป็นธุระให้ มีงานที่โบสถ์ร่มเย็น พัฒนาการ 17 วันอังคารกับพุธนี้ (16-17 กพ.) นี้ หรือโทรหาพี่ปุ๊ย ที่ 0896828887 หรือโทรกลับมาหาที่ 081-9179319 (พนมพร) ได้ค่ะ