หลังจากเล่าเรื่องวัฒนธรรมโลงไม้ มาพอสมควรแล้ว? คราวนี้ขอเล่าต่อในเรื่องของลักษณะทางกายภาพของคน? สังคมและวัฒนธรรมของคนยุคนี้ว่าเป็นอย่างไร เราไขปริศนาเรื่องราวของเขาได้มากน้อยเพียงใด…
คน? สังคม? และวัฒนธรรม “โลงไม้” ที่ปางมะผ้า
สำหรับคนในสมัยวัฒนธรรมโลงไม้สามารถสรุปคร่าว ๆ จากงานวิจัยโดยนักมานุษยวิทยากายภาพนัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์ได้ว่าฟันของคนในสมัยนี้มีลักษณะเป็นแบบ shovel shape บริเวณระหว่างเบ้าตาทั้งสองข้างกว้างมาก และโหนกแก้มผายออก ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นคุณสมบัติเด่นของมองโกลอยด์ แต่ก็ยังมีลักษณะบางประการที่พบเป็นส่วนน้อยในกลุ่มมองโกลอยด์ที่เป็นคนไทย -จีนปัจจุบัน คือ พบว่ากะโหลกของคนในวัฒนธรรมโลงไม้ส่วนตรงกึ่งกลางกะโหลกเป็นสันนูนขึ้นมา และรูปร่างกะโหลกแคบและยาว
สังคมและวัฒนธรรม
ระดับของสังคม
น่าจะเป็นสังคมระดับชน เผ่า และอยู่กันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีผู้อาวุโสเป็นผู้นำทางสังคมและความเชื่อ มีการตั้งถิ่นฐานถาวร ใช้พื้นที่หลากหลายสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องการดำรงชีพและความเชื่อของชุมชน
การวิเคราะห์รูปแบบหัวโลงที่พบทำให้ตอบข้อสมมติฐานได้ว่า รูปแบบหัวโลงที่มีความหลากหลายนั้นบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และความแตกต่างของหัวโลง รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดของโลง แสดงว่าเป็นสังคมที่น่าจะมีชนชั้นที่ยังไม่ซับซ้อนเท่ากับสังคมระดับรัฐ
การตั้งถิ่นฐาน
พบรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานประเภทเดียวคือสุสาน?? ปัจจุบันยังไม่สามารถจะยืนยันรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของวัฒนธรรมโลงไม้ได้ว่า มีประเภทใดบ้าง?? โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยหรือหมู่บ้าน?? ซึ่งสันนิษฐานเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยในภาคเหนือ? พบว่าส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบริมน้ำ ?ที่ราบหุบเขา? สันเขา? เป็นต้น? การใช้พื้นที่ภายในถ้ำหรือเพิงผาจะไม่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร? แต่ใช้เป็นที่ฝังศพหรือพื้นที่ประกอบพิธีกรรมของครอบครัว? และชุมชน
เครื่องมือเครื่องใช้
คนในวัฒนธรรมโลงไม้มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับป่าและงานช่างไม้เป็น อย่างดี??? เพราะหลักฐานของการแกะสลักหัวโลงไม้ ?การคัดเลือกขนาดของต้นไม้เพื่อกานไม้ก่อนที่จะนำมาทำเป็นโลง??? ส่วนเสาที่รองรับโลงไม่มีการเตรียมการก่อน? เพราะขนาดของเสามีความแตกต่างกัน? คงจะหาไม้ทำเสาทันทีที่โลงถูกนำมายังสุสานแล้ว? จึงตัดไม้บริเวณใกล้เคียงและตกแต่งให้เหมาะสมกับพื้นที่? ดังนั้นไม้จึงมีขนาดไม่เท่ากันตามลักษณะของถ้ำหรือเพิงผา?? การคัดเลือกไม้ทั้งทำเป็นโลงและเสา? ส่วนใหญ่ทำจากไม้สัก
ผลการวิเคราะห์เศษภาชนะดิน%
You might also like
More from Gotoknow
ขุดค้นอดีต เข้าใจปัจจุบัน: พิธีกรรมความตายดึกดำบรรพ์และที่มาของคนไท(ย) | ประชาไท
พูดคุยกับรัศมี ชูทรงเดช นักโบราณคดีในทีมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบหลักฐานร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้น พร้อมไขปริศนา "คนไท(ย)มาจากไหน?" ในห้องทำงานที่มีกล่องกระดาษเรียงรายภายในศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมกับภาพแผนผังการฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์บนผนัง และภาพเหมือนของผู้หญิงจากเมื่อหนึ่งหมื่นสามพันปีที่แล้วแอบมองเราอยู่บนหลังตู้ซึ่งเรารอคอยที่จะได้ทำความรู้จัก เราพบกับรัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีบนพื้นที่สูงและหนึ่งในนักวิจัยที่นำทีมขุดค้นในโครงการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบแหล่งโบราณคดีกว่าร้อยแห่งจากหลายยุคสมัย พร้อมกับหลักฐานซึ่งบ่งบอกร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้นในดินแดนที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอำเภอปางมะผ้า งานของนักโบราณคดีเหมือนนักสืบที่ขุดค้นอดีตและนำความรู้กลับมาใช้เพื่อทำให้เราเข้าใจต้นธารของวัฒนธรรมและปัจจุบันที่เราอยู่มากขึ้น วันนี้ประชาไทจึงมาชวนรัศมีคุยเรื่องพิธีกรรมหลังความตายของมนุษย์ยุคโบราณ การทำงานของนักโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปจนถึงตามหาคำตอบของคำถามที่ว่า …
The Challenge of Archaeological Interpretation and Practice that Integrates between the Science of the Past and Local Knowledge
Contemporary archaeologists can no longer focus only on scientific research, they must also work with different interest groups whose use …
รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตอนที่ 1/3
การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและพัฒนาการโดยสังเขป วีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมเพื่อการศึกษาเรื่อง "โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสต์ในประเทศไทย" โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://youtu.be/9_MsvnxH6So #archaeology #facultyofarchaeology #silpakorn #silpakornuniversity #prehistory #prehistoryinthailand #thailand #thailandachaeology #โบราณคดี #ภาควิชาโบราณคดี #คณะโบราณคดี #ศิลปากร #มหาวิทยาลัยศิลปากร #ก่อนประวัติศาสตร์ #กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ …
1 Comment
เป็นเรื่องที่เราไม่เคยสนใจจะถาม แต่น่าสนใจเชิงนัยยะมากครับ