หาก ท่านมีโอกาสได้ไปเยือนถ้ำลอด? ในอำเภอปางมะผ้า? จังหวัดแม่ฮ่องสอนในช่วงวันหยุดหรือหน้าหนาว? อย่าลืมแวะไปชมเพิงผาถ้ำลอด ก่อนเข้าไปยังถ้ำลอด? เพราะเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญ? มีร่องรอยการอยู่อาศัยของคนโบราณตั้งแต่ 32,380 ปีมาแล้ว? มีชั้นทับถมหลายหมื่นปี
ข้อมูล ที่นำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปาง มะผ้า? จังหวัดแม่ฮ่องสอน นำความรู้นี้มาแบ่งปันกัน? โดยแบ่งเป็นตอนๆ? อาจจะขาดหายไปบ้างเมื่อเปิดเทอม
แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด ตั้งอยู่ภายในสถานี พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด? ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำปายตอนเหนือ? ในท้องที่ตำบลถ้ำลอด? อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีลำน้ำลาง ไหลผ่าน? มีหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโลงไม้และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน? และเคยมีการสำรวจโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ)? กรมศิลปากรเมื่อพ.ศ. 2529 โบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด? เป็นเพิงผาขนาดเล็ก? อยู่ภายในบริเวณของศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด?? ใกล้กับทางเข้าของศูนย์ศึกษาฯ? ห่างจากเพิงผาถ้ำลอดประมาณ 250 เมตร? สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 640 เมตร? ตั้งอยู่ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ 47QMB247636 (แผนที่ทางทหารระวาง 4648II? ลำดับชุด L7017? พิมพ์ครั้งที่ 2? RTSD? มาตราส่วน 1:50,000)
ประวัติการค้นคว้าในอดีต
แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอดได้มีการสำรวจตั้งแต่การดำเนินของโครงการการ สำรวจและจัดทำระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับถ้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ. 2542 แต่การทำงานในครั้งนั้นยังไม่ได้เก็บข้อมูลและรายงานอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งโครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนเข้ามาทำการสำรวจและทำการขุดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในหัวข้อนี้จึงเป็นการทบทวนการศึกษาในอดีตที่ผ่านมาเพื่อเป็นการประเมินความ รู้โดยรวมในพื้นที่ศึกษาแห่งนี้
ความเป็นมาของพื้นที่ในบริเวณเพิงผาถ้ำลอด? สมศักดิ์? เลายี่ปา อดีตหัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำลอด ได้เขียนประวัติความเป็นมาของถ้ำน้ำลอด ไว้ดังนี้
?ถ้ำน้ำลอด เป็นชื่อของถ้ำขนาดใหญ่ถ้ำหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ชื่อเรียกตามลักษณะของถ้ำที่มีลำน้ำไหลลอดผ่านทะลุเขา อาณาบริเวณของถ้ำน้ำลอดแต่เดิม เป็นเขตป่าสงวนแหล่งชาติป่าแม่น้ำฝั่งขวาตอนบน??? ต่อมาเมื่อมีประกาศจัดตั้งแม่ปายฝั่งขวาตอนบนบางส่วนเป็นเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าในปี พ.ศ. 2515
ถ้ำน้ำลอด? จึงได้รับการผนวกเข้าไว้อยู่ในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำ ปายด้วยภายหลังเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอน กับอำเภอปาย? ได้รับการพัฒนาดีขึ้น? ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้ถ้ำน้ำลอด? จึงได้ขยายใหญ่ขึ้นเป็นหมู่บ้านพัฒนาตนเอง ?บ้านหน้าถ้ำ?? ในปี พ.ศ. 2520? บริเวณหมู่บ้านตั้งอยู่ห่างจากตัวถ้ำเพียง 1 กิโลเมตร? และได้มีพระภิกษุจากวัดเจ
You might also like
More from Gotoknow
ขุดค้นอดีต เข้าใจปัจจุบัน: พิธีกรรมความตายดึกดำบรรพ์และที่มาของคนไท(ย) | ประชาไท
พูดคุยกับรัศมี ชูทรงเดช นักโบราณคดีในทีมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบหลักฐานร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้น พร้อมไขปริศนา "คนไท(ย)มาจากไหน?" ในห้องทำงานที่มีกล่องกระดาษเรียงรายภายในศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมกับภาพแผนผังการฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์บนผนัง และภาพเหมือนของผู้หญิงจากเมื่อหนึ่งหมื่นสามพันปีที่แล้วแอบมองเราอยู่บนหลังตู้ซึ่งเรารอคอยที่จะได้ทำความรู้จัก เราพบกับรัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีบนพื้นที่สูงและหนึ่งในนักวิจัยที่นำทีมขุดค้นในโครงการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบแหล่งโบราณคดีกว่าร้อยแห่งจากหลายยุคสมัย พร้อมกับหลักฐานซึ่งบ่งบอกร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้นในดินแดนที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอำเภอปางมะผ้า งานของนักโบราณคดีเหมือนนักสืบที่ขุดค้นอดีตและนำความรู้กลับมาใช้เพื่อทำให้เราเข้าใจต้นธารของวัฒนธรรมและปัจจุบันที่เราอยู่มากขึ้น วันนี้ประชาไทจึงมาชวนรัศมีคุยเรื่องพิธีกรรมหลังความตายของมนุษย์ยุคโบราณ การทำงานของนักโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปจนถึงตามหาคำตอบของคำถามที่ว่า …
The Challenge of Archaeological Interpretation and Practice that Integrates between the Science of the Past and Local Knowledge
Contemporary archaeologists can no longer focus only on scientific research, they must also work with different interest groups whose use …
รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตอนที่ 1/3
การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและพัฒนาการโดยสังเขป วีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมเพื่อการศึกษาเรื่อง "โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสต์ในประเทศไทย" โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://youtu.be/9_MsvnxH6So #archaeology #facultyofarchaeology #silpakorn #silpakornuniversity #prehistory #prehistoryinthailand #thailand #thailandachaeology #โบราณคดี #ภาควิชาโบราณคดี #คณะโบราณคดี #ศิลปากร #มหาวิทยาลัยศิลปากร #ก่อนประวัติศาสตร์ #กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ …