PPK NEWS ! ปีที่ 3 ฉบับที่ 19 มิถุนายน 2555 ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางโครงการของเรา “โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูง ในอำาเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่่ฮ่องสอน” ซึ่งเป็นโครงการต้นสกุลของโครงการ PPK ได้รับเลือกจากทาง สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ร่วมแสดงงานวิจัย ในงาน มหกรรมวิชาการ สกว. “วิจัยตามรอยพระยุคลบาท : สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศ” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๙ บันดาล…สู่งานวิจัย ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี อ่านต่อ คลิกที่ภาพ…
You might also like
More from Gotoknow
ขุดค้นอดีต เข้าใจปัจจุบัน: พิธีกรรมความตายดึกดำบรรพ์และที่มาของคนไท(ย) | ประชาไท
พูดคุยกับรัศมี ชูทรงเดช นักโบราณคดีในทีมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบหลักฐานร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้น พร้อมไขปริศนา "คนไท(ย)มาจากไหน?" ในห้องทำงานที่มีกล่องกระดาษเรียงรายภายในศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พร้อมกับภาพแผนผังการฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์บนผนัง และภาพเหมือนของผู้หญิงจากเมื่อหนึ่งหมื่นสามพันปีที่แล้วแอบมองเราอยู่บนหลังตู้ซึ่งเรารอคอยที่จะได้ทำความรู้จัก เราพบกับรัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีบนพื้นที่สูงและหนึ่งในนักวิจัยที่นำทีมขุดค้นในโครงการวิจัยโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการซึ่งค้นพบแหล่งโบราณคดีกว่าร้อยแห่งจากหลายยุคสมัย พร้อมกับหลักฐานซึ่งบ่งบอกร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์จากอดีตอันไกลโพ้นในดินแดนที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอำเภอปางมะผ้า งานของนักโบราณคดีเหมือนนักสืบที่ขุดค้นอดีตและนำความรู้กลับมาใช้เพื่อทำให้เราเข้าใจต้นธารของวัฒนธรรมและปัจจุบันที่เราอยู่มากขึ้น วันนี้ประชาไทจึงมาชวนรัศมีคุยเรื่องพิธีกรรมหลังความตายของมนุษย์ยุคโบราณ การทำงานของนักโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปจนถึงตามหาคำตอบของคำถามที่ว่า …
The Challenge of Archaeological Interpretation and Practice that Integrates between the Science of the Past and Local Knowledge
Contemporary archaeologists can no longer focus only on scientific research, they must also work with different interest groups whose use …
รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ตอนที่ 1/3
การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและพัฒนาการโดยสังเขป วีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมเพื่อการศึกษาเรื่อง "โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสต์ในประเทศไทย" โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://youtu.be/9_MsvnxH6So #archaeology #facultyofarchaeology #silpakorn #silpakornuniversity #prehistory #prehistoryinthailand #thailand #thailandachaeology #โบราณคดี #ภาควิชาโบราณคดี #คณะโบราณคดี #ศิลปากร #มหาวิทยาลัยศิลปากร #ก่อนประวัติศาสตร์ #กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ …
2 Comments
เรียน อ.รัศมี
เนื่องด้วย ผมทำงานเกี่ยวกับผลิตสารคดีออกอากาศทางโทรทัศน์ เคยทำรายการกบนอกกะลามากว่า 6 ปี (ปี48-53) ขณะนี้ออกมาเปิดบริษัทเอง เพื่อผลิตสารคดีส่งให้กับ Thai PBS สิ่งหนึ่งที่ผมสนใจมาตลอดคือเรื่องราวของโบราณคดี ผมอ่านหนังสือของ อาจารย์หลายๆท่านเช่น ของท่าน อ.ชิน อยู่ดี อยากถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางค้นพบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ไปตามแม่น้ำแคว, งานของ สุจิตร วงเทศน์, งานของ อ.สุภาพร นาคบัลลังก์ ซึ่งได้พยายามติดต่อไปก็ทราบมาว่า อ.สุภาพร ป่วย พยายามติดต่อไปที่ คณะโบราณคดี โทรศัพท์ ก็เสีย แต่ได้ฝากจดหมายทางอีเมล์ไว้แล้ว พยายามค้นหาทางเน็ต ก็มาเจอเวปของอาจาร์ย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ความกรุณาจากท่าอาจาร์ย ติดต่อกลับเพื่อให้ผมได้ไปปรึกษาด้านข้อมูล และการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณคดี ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ หินเก่า หินใหม่ โลหะ รอยต่อสู่ ดองซอน ทวารวดี ลพบุรี ตามพรลิงค์ ฯลฯ ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยอย่างมากถ้าได้เข้าใจรากของตัวเอง ซึ่งเชื่อมโยงกับชนชาติอื่นทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขอบคุณครับ
ธัชพล สง่าอารีย์กุล
บ.ปรุงพิคเจอร์ส จก.
081-580-6803
คุณธัชพลคะ
ยินดีค่ะ ไม่มีปัญหาค่ะ ดีใจที่คุณธัชพลสนใจที่จะเผยแพร่เรื่องนี้ คุณธัชพลพอจะมีความคิดว่าอยากทำอะไรแนวไหน ยังไงดิฉันจะโทรติดต่อนะคะ
รัศมี