PPK NEWS !!! ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 1 เมษายน 2553 ?
คลิกที่ภาพ เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
คลิกที่ภาพ เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
เราท่านหลายคนคงไม่รู้ว่าร่างกาย ของเรานั้นเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญต่อการศึกษาอดีตเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็น เหมือนกุญแจที่ช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับเรื่องราวของผู้คน? สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมในอดีต? เมื่อมึข่าวว่ามีการพบโครงกระดูกโบราณแล้วชาวบ้านนำไปฌาปนกิจเพื่อให้วิญญาณ ได้ไปสู่ที่สุคติหรือไปขุดค้นเพื่อหาของที่อยู่ร่วมกับหลุมฝังศพ? ทำให้จิตใจเราค่อนข้างห่อเหี่ยวเป็นอย่างยิ่ง? เพราะเราได้ทำลาย finger print ที่สำคัญของบรรพชนของเรา? วันนี้จึงอยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับเรื่องโครงกระดูกคนค่ะ โครงกระดูกคนทำให้ทราบเรื่องราวในอดีตได้อย่างไร? การศึกษาเรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในอดีต? สามารถจะศึกษาได้โดยตรงจากโครงกระดูก นิเวศน์วัตถุ และโบราณวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ โครงกระดูก ทำให้ทราบเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงในอดีต ทำให้ทราบเกี่ยวกับโภชนาการในอดีต ทำให้ทราบเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บและการบาดเจ็บในอดีต ทำให้ทราบเกี่ยวกับอาชีพของคนในอดีต ทำให้ทราบเกี่ยวกับสถานภาพทางสังคมของคนในอดีต คนกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในอดีต ในที่นี้โครงกระดูกเป็นแหล่งข้อมูลในการตรวจสอบความกดดันจากสภาวะแวดล้อม? เช่นการขาดอาหาร …
หลังจากเล่าเรื่องวัฒนธรรมโลงไม้ มาพอสมควรแล้ว? คราวนี้ขอเล่าต่อในเรื่องของลักษณะทางกายภาพของคน? สังคมและวัฒนธรรมของคนยุคนี้ว่าเป็นอย่างไร เราไขปริศนาเรื่องราวของเขาได้มากน้อยเพียงใด... คน? สังคม? และวัฒนธรรม "โลงไม้" ที่ปางมะผ้า สำหรับคนในสมัยวัฒนธรรมโลงไม้สามารถสรุปคร่าว ๆ จากงานวิจัยโดยนักมานุษยวิทยากายภาพนัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์ได้ว่าฟันของคนในสมัยนี้มีลักษณะเป็นแบบ shovel shape บริเวณระหว่างเบ้าตาทั้งสองข้างกว้างมาก และโหนกแก้มผายออก ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นคุณสมบัติเด่นของมองโกลอยด์ แต่ก็ยังมีลักษณะบางประการที่พบเป็นส่วนน้อยในกลุ่มมองโกลอยด์ที่เป็นคนไทย -จีนปัจจุบัน …
โลงไม้-โลงผีแมน เราได้รู้จักวัฒนธรรมโลงไม้ หรือโลงผีแมนไปบ้างแล้ว? วันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับโลงไม้ที่พบจากการสำรวจที่อำเภอปางมะผ้า? จังหวัดแม่ฮ่องสอน? ในการสำรวจก็ได้บันทึกข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของโลงไม้ ขนาด? รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้ง? เพื่อมาวิเคราะห์ตีความเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมเมื่อสองพันปีมาแล้ว องค์ประกอบของโลงไม้ องค์ประกอบของโลงไม้นั้นสามารถแยกอย่างคร่าวๆ ได้เป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนของตัวโลงและหัวโลง ส่วนของตัวโลงนั้นเรียบง่ายไม่มีลักษณะพิเศษอะไรมากนักรูปทรงเหมือนท่อนซุง ผ่าครึ่ง รัศมีของลำต้นโดยเฉลี่ยจะเท่ากันตลอดลำ ตัดหัวท้ายในแนวดิ่งเป็นลักษณะของมุมฉากต่อแนวนอน (ตามความยาวของ ท่อนไม้) แกนในของลำต้นถูกขุดออกด้วยเครื่องมือเพื่อให้เกิดพื้นที่ภายในซึ่งมีส่วน โค้งขนานไปกับส่วนโค้งของลำต้นภายนอก ส่วนหัวท้ายของท่องซุงเว้นพื้นที่ไว้หนาพอสมควรคงเพื่อให้เกิดการยึดถ่วง น้ำหนักกับส่วนหัวโลง โดยปกติมักพบโลงไม้อยู่ด้วยกันเป็นคู่ …
ก่อนที่จะเข้าเรื่องของ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด ที่มีความพิเศษน่าเยี่ยมเยือน เราน่าจะมาทำเข้าใจความหมายของชื่ออำเภอปางมะผ้ากันก่อนและทำความรู้จักชุมชนที่อยู่ในบริเวณนั้นกันหน่อย? เพื่อท่านจะได้เข้าใจที่มาที่ไปของกลุ่มตะเกียงที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำท่าน เข้าสู่ถ้ำลอด ปางมะผ้าหมายถึงอะไร ปางมะผ้า เป็นคำภาษาไทยใหญ่ ปาง หมายถึงที่พักชั่วคราว มะผ้า เพี้ยนมาจากคำว่า หมากผ้า แปลว่ามะนาวปางมะผ้า หมายถึงที่พักชั่วคราวที่มีมะนาว ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านถ้ำลอด เป็นงานที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศิริลักษณ์ กัณฑศรี อนุสรณ์ อำพันธ์ศรีและอุดมลักษณ์ …